Showing 1–12 of 16 results

จานเดือย จายเดือยหมู จานเฟืองเดือยหมู เฟืองบายศรี มีทุกรุ่น พร้อมส่ง

จานเฟือง เดือยหมู อีซูซุ ทีเอฟอาร์ ISUZU TFR 10×41

จานเฟือง เดือยหมู อีซูซุ ISUZU l250 9×41

จานเฟือง เดือยหมู โตโยต้า TOYOTA 8×39

จานเฟือง เดือยหมู โตโยต้า TOYOTA 11×43

จานเฟือง เดือยหมู โตโยต้า TOYOTA 9×41

จานเฟือง เดือยหมู โตโยต้า TOYOTA 9×38 (ลูกหลัง)

จานหนาจานเฟือง เดือยหมู โตโยต้า TOYOTA 8×41 (ลูกหลัง) จานหนา

รุ่นยอดฮิต ขายดีของร้านเรา นอกเหนือจากนี้สอบถามได้เลยครับ🙏

** บายศรีหรือเฟืองวงแหวน (Ring Gear) ทาหน้าที่ส่งแรงบิดจากเฟืองเดือยหมูไปยัง ชุดเรือนเฟืองดอกจอกหรือเรือนเฟืองทด (Differential Case) เป็นเฟืองที่ออกแบบให้มีลักษณะเป็นวงแหวน เพื่อสวมกับเสื้อเฟืองดอกจอกเฟืองบายศรีมีจานวนฟันเฟืองมากกว่าเฟืองเดือยหมูดังนั้น จึงหมุนชา้กว่า เฟืองเดือยหมูส่งผลให้อัตราทดของกระปุกเกียร์

** เฟืองเพลาท้ายหรือเฟืองเพลาข้าง (Rear Axle Gear) ทาหน้าที่ปรับความเร็วของ ล้อรถยนต์ในขณะที่รถยนตเ์คลื่อนที่ในทางตรงหรือขณะเลี้ยวโค้งจะมีเฟืองดอกจอกเล็ก 2 ตัวและเฟืองเพลา ข้าง 2 ตัวโดยเฟืองทั้งหมดจะติดตั้งอยู่ภายในเรือนเฟืองทดและขบกันอยู่ตลอดเวลาสำหรับเฟืองเพลาท้าย ตรงกลางของเฟืองจะเจาะรูทา เป็นร่องฟันเฟือง (Spline) เพื่อสวมเข้ากับเพลาทา้ย (Rear Axle Shaft)

ชนิดของเฟืองเดือยหมูและเฟืองบายศรี ในการออกแบบชุดเฟืองท้ายจะต้องคำนึงถึงคุณภาพของวัสดุของเฟืองทา้ยให้เหมาะสมกับการใช้ งานสำหรับเฟืองท้ายที่นิยมใช้กัน ในปัจุบันมีอยู่3 ชนิดคือ

1. แบบเฟืองฟันตรง (Spur bevel gear) ฟันของเฟืองเดือยหมูและเฟืองบายศรี มีลักษณะตรง โดย เฟืองเดือยหมูติดตั้งอยู่ในแนวกึ่งกลางของเฟืองบายศรี หน้าสัมผัสของฟันเฟืองทั้งสองจะขบกันทีละคู่ ฟันเฟืองแบบน้ีสึกหรอง่าย และมีเสียงดังจึงไม่นิยมใช้ในปัจจุบัน

2. เฟืองแบบฟันโค้ง (Spiral Bevel Gear) เฟืองแบบน้ีเหมาะสา หรับใช้งานหนัก เฟืองเดือยหมูจะติดตั้งอยู่ในแนวกึ่งกลางของ เฟืองบายศรีทา ให้ฟันเฟืองสามารถรับแรงได้มากข้ึน มีการสึกหรอน้อยแต่จะมีเสียงดังมากกว่าแบบฟันโค้ง และเฉียง

3. เฟืองแบบฟันโค้งและเฉียง (Hypoid Bevel Gear) เฟืองแบบน้ีนิยมใช้กับรถโดยสารและรถบรรทุกขนาดเบาเล็กเฟืองเดือยหมูจะติดตั้งอยู่ต่ำกว่าแนวศูนย์กลางของเฟืองบายศรีซึ่งมีข้อดีก็คือความสูงของรถยนต์จะลดลงต่ำได้เฟืองแบบน้ีขณะ ทำงานจะมีเสียงดังน้อย ฟันเฟืองจะสัมผัสกันหลายฟันรับแรงขับได้ดีแต่ในขณะทำงานจะเกิดแรงกดดันสูง ระหว่างฟันเฟืองทำให้น้ำมันหล่อลื่นซึ่งอยู่ระหว่างฟันเฟืองขบกันจะถูกฟันเฟืองปาดออก ดังน้ันควร เลือกใช้น้ำมันหล่อลื่นชนิดพิเศษสำหรับเฟืองท้ายแบบน้ีเท่านั้น

เฟืองท้ายคืออะไร?
ก่อนจะอธิบายถึงน้ำมันเฟืองท้าย มาดูกันก่อนว่าเฟืองท้ายทำหน้าที่อะไรสำหรับรถยนต์ของคุณ เฟืองท้ายมีหน้าที่ถ่ายทอดกำลังจากเพลากลางมาถึงเฟืองท้ายไปยังล้อ โดยเฉพาะรถยนต์ที่มีระบบขับเคลื่อนล้อหลังจะมีความสำคัญมากที่สุด เพราะกำลังจากเครื่องยนต์ที่ถูกส่งผ่านชุดเกียร์จะถ่ายทอดมายังเพลาหลังและส่งผ่านให้เฟืองท้ายขับเคลื่อนล้อหลังทั้ง 2 ข้าง

ชุดเฟืองท้ายประกอบไปด้วย

  1. เฟืองเดือยหมู (Bevel Pinion) ทำหน้าที่ถ่ายทอดกำลังเครื่องยนต์จากชุดเกียร์ไปยังเฟืองบายศรี
  2. เฟืองบายศรี (Differential Pinion) ทำหน้าที่ลดอัตราทดการหมุนจากเฟืองเดือยหมู เปลี่ยนทิศทางการหมุนเพื่อส่งแรงไปยังเพลาทั้ง 2 ข้าง
  3. เฟืองดอกจอก (Differential Gear) ทำหน้าที่แบ่งกำลังจากเฟืองบายศรีส่งไปยังเพลา 2 ข้าง ให้ต่างกันในขณะเข้าโค้ง
  4. เฟืองข้าง (Side Gear) ทำหน้าที่ส่งกำลังให้ล้อรถหมุน
  5. เฟืองท้ายลิมิเตดสลิป (LSD) สำหรับเฟืองท้ายระบบนี้มีความพิเศษกว่าเฟืองท้ายทั่วไป โดยจะทำหน้าที่ล็อกล้อทั้ง 2 ข้าง ให้หมุนด้วยความเร็วเท่ากัน แม้ว่าล้ออีกด้านจะหมุนฟรีอยู่ก็ตาม ทำให้รถยนต์เคลื่อนที่ไปได้ ช่วยเรื่องปัญหาติดหล่ม สามารถใช้งานในพื้นที่เปียกลื่นหรือเส้นทางที่เป็นโคลนได้ดี

ข้อแนะนำในการดูแลรักษาเฟืองท้าย

  1. ข้อสำคัญในการเลือกใช้น้ำมันเฟืองท้ายคือ ควรยึดตามข้อกำหนดจากคู่มือมาตรฐานของรถยนต์ เพราะหากไม่ได้ใช้เบอร์ความหนืดตามที่กำหนด จะมีผลต่อการใช้งาน เช่น รถยนต์ที่ต้องใช้เบอร์ความหนืด SAE 90 ถ้าเติมผิดเป็น SAE 140 จะทำให้รถอืดมากกว่าปกติ วิธีแก้ไขคือถ่ายน้ำมันเฟืองท้ายออกแล้วเติมเบอร์ที่ถูกต้องเข้าไปใหม่
  2. สำหรับรถยนต์ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า สามารถใช้น้ำมันเกียร์เบอร์เดียวกันกับเฟืองท้ายได้เลย
  3. ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเฟืองท้ายทุก ๆ ระยะ 20,000 กิโลเมตร เพื่อการบำรุงรักษาที่ดีที่สุด
  4. ถ้าไม่เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเฟืองท้ายตามระยะที่เหมาะสมจะทำให้เฟืองท้ายเกิดการสึกหรอไปเรื่อย ๆ หรือที่ภาษาช่างเรียกว่า “เฟืองท้ายหอน” มีผลต่ออายุการใช้งาน หรืออาจทำให้เฟืองท้ายเสียหายหนักเกินแก้
  5. ควรเลือกใช้น้ำมันเฟืองท้ายที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน GL-4 และ GL-5 หรือเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จาก “วาโวลีน” ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการใช้งานจากผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำ มีเบอร์ความหนืดให้เลือกหลากหลาย เช่น เบอร์ SAE 75W-85, 75W-90, 85W-90 และ 85W-140

Shopping cart

0
image/svg+xml

No products in the cart.

Continue Shopping